เทศบาลเมืองบ้านไผ่ ตำบลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
menu (เมนู)
เทศบาลเมืองบ้านไผ่
ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว

เทววิหารพุทธญาณเต๊กก่าจีเยี้ยงเกาะ

 เทววิหารพุทธญาณเต๊กก่าจีเยี้ยงเกาะ

                     ที่อยู่ ถนนสุขาภิบาล 2  ตำบลในเมือง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น 40110

          หลักจากเกิดสถานเผยแผ่คุณธรรม “เต็กก่า” จีเฮียงเกาะ อำเภอเตี้ยเอี้ย มณฑลกวางตุ้ง เมื่อปีพ.ศ.2482 (ปีกี๋เบ้า) แล้ว คุณธรรมคำสอน “เต็กก่า” ก็แพร่หลายไปทั่วแถบเมืองแต้จิ๋วและซัวเถา หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2488 (ปีกะซิง) ปวงเทวอาจารย์ก็สั่งสอนแพร่ลงสู่ทางใต้ พร้อมกับกำชับสานุศิษย์ทั้งหลายเตรียมเดินทางสู่ต่างแดนเพื่อเผยแผ่คุณธรรม แต่ในปีถัดมาญี่ปุ่นก่อสงครามรุกรานทั่วเอเชีย ภายหลังสงครามยุติดินแดนทางได้ฟื้นฟูการคมนาคม เหล่าศิษย์ต่างปฏิบัติตามคำสั่งสอนของเทวอาจารย์ จนสามารถจัดตั้งสถานธรรมแห่งเต็กก่าทั้งในฮ่องกง และประเทศทางใต้โดยทั่วไป 
          สำหรับในประเทศไทยแล้ว เทวอาจารย์องค์เตียวเอี้ยงท้ง ได้บัญชาให้อัญเชิญผงธูปศักดิ์สิทธิ์ลงสู่ทางใต้ โดยนายเต็กหงอ แซ่ลิ้ม (ตั้งซิ่วหงอ) ชาวไทยเชื้อสายจีน ณ สมาคม “จีฮวงเกาะ” เมืองซัวเถา เป็นผู้อัญเชิญผงธูปศักดิ์สิทธิ์เดินทางสู่ประเทศไทย แต่เนื่องด้วยข้อกฎหมายในสมัยนั้น ไม่สามารถเผยแพร่และพัฒนากิจการของคุณธรรมเต็กก่า ทั้งยังไม่สามารถประกอบพิธีประทับทรง (คุยกี) ได้ เป็นเวลาเกือบ 1 ปี แต่ด้วยศรัทธาและอุดมการณ์ของผู้อาวุโสหลายท่าน จึงได้เริ่มพิธีประทับทรงอย่างไม่เปิดเผย และไม่มีสถานที่แน่นอน จนกระทั่งต่อมาสามารถก่อตั้ง จีจินเกาะ เฮี่ยงซิ้งเซี่ยงตึ๊ง ขึ้นเป็นเกาะต้นๆ ของประเทศไทย และสามารถเผยแพร่ธรรมและขยายคุณธรรมสถานออกไปตามสถานที่ต่างๆ อย่างรวดเร็ว จวบจนปัจจุบัน (ม.ค. 2550) มีคุณธรรมสถาน “เต็กก่า” ถึง 77 แห่งในประเทศไทย และอีก 5 แห่งในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมเป็น 82 แห่ง โดยมีสำนักคุณธรรมกลาง หรือ เต็กก่าจงหวย (เต็กจ้ง) เป็นผู้ประสานงานกุศลสถานทั้งหมด  ในช่วง 25 ปี แรกของการเข้ามาเผยแผ่คุณธรรม “เต็กก่า” ในประเทศไทย คือในช่วงปี พ.ศ. 2448-2513 สามารถกล่าวได้ว่า ทุกๆ แห่งอาศัยการประทับทรงชี้แนะการดำเนินกิจการกุศลต่างๆ จากปวงวิสุทธิเทพเทพาจารย์แทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะการประทับทรงในช่วงแรกๆ เป็นไปด้วยความลำบากอย่างยิ่ง เพราะรูปแบบของการตั้งสมาคมคุณธรรมศาสน์นั้น ต้องเปิดกว้างเพื่อเป็นศูนย์รวมของศาสนิกชน เพื่อประกอบกิจกุศล และพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งมักถูกทางราชการในสมัยนั้นเพ่งเล็ง ว่าเป็นการรวมตัวของพรรคก๊กมินตั๋ง หรือ คอมมิวนิสต์ เป็นต้น การประทับทรงในสมัยนั้นคำสอนหรือคำทำนายต่างๆ ของปวงเทวอาจารย์มักปรากฏขึ้นจริง ทำให้สาธุชนทั่วไปทั้งไทยและจีนปวารณาตัวเข้าเป็นศิษย์ใหม่อยู่เนืองๆ 

 เทววิหารพุทธญาณเต๊กก่าจีเยี้ยงเกาะ

                     ที่อยู่ ถนนสุขาภิบาล 2  ตำบลในเมือง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น 40110

          หลักจากเกิดสถานเผยแผ่คุณธรรม “เต็กก่า” จีเฮียงเกาะ อำเภอเตี้ยเอี้ย มณฑลกวางตุ้ง เมื่อปีพ.ศ.2482 (ปีกี๋เบ้า) แล้ว คุณธรรมคำสอน “เต็กก่า” ก็แพร่หลายไปทั่วแถบเมืองแต้จิ๋วและซัวเถา หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2488 (ปีกะซิง) ปวงเทวอาจารย์ก็สั่งสอนแพร่ลงสู่ทางใต้ พร้อมกับกำชับสานุศิษย์ทั้งหลายเตรียมเดินทางสู่ต่างแดนเพื่อเผยแผ่คุณธรรม แต่ในปีถัดมาญี่ปุ่นก่อสงครามรุกรานทั่วเอเชีย ภายหลังสงครามยุติดินแดนทางได้ฟื้นฟูการคมนาคม เหล่าศิษย์ต่างปฏิบัติตามคำสั่งสอนของเทวอาจารย์ จนสามารถจัดตั้งสถานธรรมแห่งเต็กก่าทั้งในฮ่องกง และประเทศทางใต้โดยทั่วไป 
          สำหรับในประเทศไทยแล้ว เทวอาจารย์องค์เตียวเอี้ยงท้ง ได้บัญชาให้อัญเชิญผงธูปศักดิ์สิทธิ์ลงสู่ทางใต้ โดยนายเต็กหงอ แซ่ลิ้ม (ตั้งซิ่วหงอ) ชาวไทยเชื้อสายจีน ณ สมาคม “จีฮวงเกาะ” เมืองซัวเถา เป็นผู้อัญเชิญผงธูปศักดิ์สิทธิ์เดินทางสู่ประเทศไทย แต่เนื่องด้วยข้อกฎหมายในสมัยนั้น ไม่สามารถเผยแพร่และพัฒนากิจการของคุณธรรมเต็กก่า ทั้งยังไม่สามารถประกอบพิธีประทับทรง (คุยกี) ได้ เป็นเวลาเกือบ 1 ปี แต่ด้วยศรัทธาและอุดมการณ์ของผู้อาวุโสหลายท่าน จึงได้เริ่มพิธีประทับทรงอย่างไม่เปิดเผย และไม่มีสถานที่แน่นอน จนกระทั่งต่อมาสามารถก่อตั้ง จีจินเกาะ เฮี่ยงซิ้งเซี่ยงตึ๊ง ขึ้นเป็นเกาะต้นๆ ของประเทศไทย และสามารถเผยแพร่ธรรมและขยายคุณธรรมสถานออกไปตามสถานที่ต่างๆ อย่างรวดเร็ว จวบจนปัจจุบัน (ม.ค. 2550) มีคุณธรรมสถาน “เต็กก่า” ถึง 77 แห่งในประเทศไทย และอีก 5 แห่งในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมเป็น 82 แห่ง โดยมีสำนักคุณธรรมกลาง หรือ เต็กก่าจงหวย (เต็กจ้ง) เป็นผู้ประสานงานกุศลสถานทั้งหมด  ในช่วง 25 ปี แรกของการเข้ามาเผยแผ่คุณธรรม “เต็กก่า” ในประเทศไทย คือในช่วงปี พ.ศ. 2448-2513 สามารถกล่าวได้ว่า ทุกๆ แห่งอาศัยการประทับทรงชี้แนะการดำเนินกิจการกุศลต่างๆ จากปวงวิสุทธิเทพเทพาจารย์แทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะการประทับทรงในช่วงแรกๆ เป็นไปด้วยความลำบากอย่างยิ่ง เพราะรูปแบบของการตั้งสมาคมคุณธรรมศาสน์นั้น ต้องเปิดกว้างเพื่อเป็นศูนย์รวมของศาสนิกชน เพื่อประกอบกิจกุศล และพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งมักถูกทางราชการในสมัยนั้นเพ่งเล็ง ว่าเป็นการรวมตัวของพรรคก๊กมินตั๋ง หรือ คอมมิวนิสต์ เป็นต้น การประทับทรงในสมัยนั้นคำสอนหรือคำทำนายต่างๆ ของปวงเทวอาจารย์มักปรากฏขึ้นจริง ทำให้สาธุชนทั่วไปทั้งไทยและจีนปวารณาตัวเข้าเป็นศิษย์ใหม่อยู่เนืองๆ