|
เทศบาลเมืองบ้านไผ่ข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์วิธีเอาตัวรอดจาก “อุทกภัย”หลังจากเกิดมหาอุทกภัย (โพดุล) ในปี พ.ศ.2562 เทศบาลจึงได้พัฒนานวัตกรรมอุปกรณ์แจ้งเตือนภัยน้ำท่วมแบบ Real Time ขึ้น เพื่อเป็นการแจ้งเตือนก่อนเกิดเหตุน้ำท่วม ซึ่งลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินได้เป็นอย่างมาก ระดับการแจ้งเตือนของระบบ แจ้งเตือนภัยน้ำท่วม มีอยู่ 3 ระดับ ดังนี้ การแจ้งเตือนผ่านระบบ line notify ระดับที่ 1 เป็นระดับการแจ้งเตือน “มีระดับน้ำใกล้ล้นตลิ่งโปรดเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด” (ซึ่งจะตรวจวัดระดับน้ำในพื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์โดยเทียบจากไม้วัดระดับน้ำ ณ สะพานโนนสะอาด ที่ระดับ 100 เซนติเมตร) ***หมายเหตุ ให้ประชาชนเตรียมเก็บสิ่งของขึ้นที่สูง หรือเตรียมพร้อมอพยพ โดยอุปกรณ์จะทำการแจ้งเตือนผ่านระบบ line notify จำนวน 10 ครั้ง ในส่วนของไฟสัญญาณวับวาบและเสียงไซเรนจะยังไม่แจ้งเตือน ระดับที่ 2 เป็นระดับการแจ้งเตือน “มีระดับน้ำล้นตลิ่งโปรดอพยพไปยังพื้นที่ปลอดภัย” (ซึ่งจะตรวจวัดระดับน้ำในพื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์โดยเทียบจากไม้วัดระดับน้ำ ณ สะพานโนนสะอาด ที่ระดับ 130 เซนติเมตร) ***หมายเหตุ ให้ประชาชนเก็บสิ่งของและทรัพย์สินมีค่าแล้วอพยพไปยังพื้นที่ปลอดภัย ระบบจะทำการแจ้งเตือนผ่านระบบ line notify จำนวน 10 ครั้ง ในส่วนของไฟสัญญาณวับวาบและเสียงไซเรนจะทำการแจ้งเตือน ณ จุดติดตั้ง
ระดับที่ 3 เป็นระดับการแจ้งเตือน “มีระดับน้ำอยู่ที่ระดับวิกฤต” (ซึ่งจะตรวจวัดระดับน้ำในพื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์โดยเทียบจากไม้วัดระดับน้ำ ณ สะพานโนนสะอาด ที่ระดับ 160 เซนติเมตรเป็นต้นไป) ***หมายเหตุ ยังมีระดับน้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องห้ามประชาชนกลับเข้าไปยังที่อยู่อาศัย ระบบจะแจ้งเตือนทาง line notify เท่านั้น ระบบแจ้งเตือนภัยน้ำท่วม ยังสามารถดูระดับน้ำแบบ Real Time ผ่านแอปพลิเคชั่น Blynk IOT ได้จากโทรศัพท์ Smart Phone แทปแลต และคอมพิวเตอร์
อุทกภัย อุทกภัย คือ ภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีน้ำเป็นสาเหตุ อาจจะเป็น น้ำท่วม น้ำป่า หรืออื่นๆ โดยปกติอุทกภัยเกิดจากฝนตกหนัก ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมี สาเหตุจากพายุหมุนเขตร้อนลมมรสุมมีกําลังแรง ร่องความกด อากาศต่ำมีกําลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว เขื่อนพัง ทำให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ ชนิดของอุทกภัย 1.น้ำป่าไหลหลาก เกิดจากฝนตกหนักบนภูเขา หรือต้น น้ำลำธารและไหลบ่าลงที่ราบต่ำหรือลำห้วยต่างๆ อย่างรวดเร็ว เพราะไม่มี ต้นไม้ ช่วยดูดซับ ชะลอกระแสน้ำความเร็วของน้ำ ของท่อนซุง และต้นไม้ ซึ่งพัดมาตามกระแสน้ำจะทำลายต้นไม้ อาคาร ถนน สะพาน ชีวิตมนุษย์ และสัตว์ จนได้รับความเสียหาย ๒. น้ำท่วมขัง น้ำเอ่อนอง เกิดจากน้ำล้นตลิ่ง มีระดับสูง จากปกติท่วมแช่ขัง ทำให้การคมนาคมหยุดชะงัก เกิดโรคระบาดได้ ทำลายพืชผลเกษตรกร 3. คลื่นซัดฝั่ง เกิดจากพายุลมแรงซัดฝั่ง ทำให้น้ำท่วม บริเวณชายฝั่งทะเลบางครั้งมีคลื่นสูงถึง ๑๐ เมตร ซัดเข้าฝั่ง ซึ่งสามารถทำลายทรัพย์สินและชีวิตได้ การป้องกันและลดความเสียหายจากอุทกภัย ควรติดตามฟังข่าวอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา และเทศบาลเมืองบ้านไผ่สม่ำเสมอ เมื่อใดที่แจ้งเตือนให้อพยพทั้งคนและสัตว์เลี้ยงควรรีบอพยพไปอยู่ในที่สูงอาคารที่มั่นคงแข็งแรงหรือจุดพักพิงที่หน่วยงานราชการกำหนด ถ้าอยู่ริมน้ำให้เอาเรือหลบเข้าฝั่งไว้ในที่ที่จะใช้งานได้ เมื่อเกิดน้ำท่วม เพื่อการคมนาคมควรมีการวางแผนอพยพว่าจะไป อยู่ที่ใด พบกันที่ไหน อย่างไร กระแสน้ำหลากจะทำลายวัสดุก่อสร้าง เส้นทางคมนาคม ต้นไม้ และพืชไร่ ต้องระวังกระแสน้ำพัดพาไป อย่าขับรถยนต์ฝ่าลงไปในกระแสน้ำหลาก แม้บนถนนก็ตาม อย่าลงเล่นน้ำอาจจะประสพอุบัติภัยอื่นๆ อีกได้ หลังจากน้ำท่วม จะเกิดโรคระบาดในระบบทางเดิน อาหารทั้งคนและสัตว์ ให้ระวังน้ำบริโภคโดยต้มให้เดือดเสียก่อน |