คำขวัญอำเภอบ้านไผ่
 วิสัยทัศน์เทศบาลตำบลบ้านไผ
 ่โครงสร้างและการบริหารงาน
 นโยบายการบริหารงาน
 แผนพัฒนาเทศบาล
 การเมืองการบริหาร
 คู่มือประชาชน
      งานทะเบียนราษฎร
      งานป้องกันและบรรเทา
          สาธารณภัย
      บริการยืม-คืนหนังสือ
      บริการสืบค้นข้อมูลผ่าน
           Internet ความเร็วสูง
      งานจัดเก็บภาษีต่างๆ
      การขออนุญาตงานอาคาร
      ขอใบอนุญาตประกอบการ
      จำนำทรัพย์ต้องทำไงบ้าง?
     
 
 
            
10 August, 2005 14:28



                         
Copyright 2005 BanPhai Municipality Office. All rights reserved.
                                     สำนักงานเทศบาลเมืองบ้านไผ่905 ม.3 ถนน เจนจบทิศ ตำบลในเมือง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัด ขอนแก่น 40110
                                        โทร. 0-4327-2661,0-4327-2642,0-4327-2762 โทรสาร 0-4327-2762 ส่งข้อคิดเห็นได้ที่ webmaster : tanayuth_k@hotmail.com

  ผญา คือ ?
หน่วยงานในสังกัด
       ผะหยา เป็นภาษาลาวที่คนในภาคอีสานซึ่งสืบเชื้อสาย มาจากลาว อาณาจักรล้านช้าง ใช้พูดจากัน เพื่อแสดงถึง ูมิปัญญาของผู้พูด
ผะหยา (น.) หมายถึง ปัญญา ความรู้ ความฉลาด ดั่งว่า "ยามหลานเข้ามาเถิงถามข่าววันนั้น สอนบ่มีผู้ฮู้ผะหยาแจ้ง ไต่ตองนั้นลือ" (สิน.)
ผญา (น.) ปัญญา ความรู้ ความฉลาด คำภาษิตที่มีความหมายลึกซึ้ง เรียกผญา อย่างว่า "เงินเต็ม พา บ่ท่อผญาเต็มปูม (ภาษิต)
ผญา (น.) เป็นคำพูดของนักปราชญ์ถิ่นอีสานโบราณและ เป็นภาษาที่มีอายุมากพอสมควรแล้ว ผญาเป็นคำถ่ายทอดมาจากคำว่า "ปัญญา" และ "ปรัชญา" ซึ่งอพยพมาตามหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา นักปราชญ์โบราณอีสานท่านเปลี่ยนจากคำเดิม คือปัญญา มาเป็นผญา เพื่อความสะดวกหรือเพื่อความเหมาะสมกับ ภาษาถิ่นก็อาจะเป็นได้ ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ ดังนั้น คำว่า ผญา ก็คงมีความหมายเช่นเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน

รูปแบบของคำผะหยา
 
       ผะหยา เป็นบทร้อยกรองสั้น ๆ ของอีสาน เมื่อพิจารณาถึง รูปแบบแล้วจะเห็นว่ามี 3 ประเภทคือ
1. ประเภทที่มีสัมผัส หรือใช้คำคล้องจองกัน
2. ประเภทที่อาศัยเสียงสูงต่ำ และจังหวะในการออกเสียง
3. ประเภทที่มีสัมผัส เสียงสูงต่ำและจังหวะในการออกเสียง ประสมกัน

เนื้อหาของคำผะหยา
เมื่อพิจารณาถึงด้านเนื้อหาของผะหยา สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะคือ
1. ผะหยาภาษิต ได้แก่ คติสอนใจ ปริศนา เช่น "ครันเจ้าได้ชี่ช้างกั้งฮ่มเป็นพญา อย่าสิลืมชาวนาผู้ขี่ ควายคอนกล้า"
2. ผะหยาอวยพร เช่น
" นอนหลับให้เจ้าได้เงินหมื่น นอนตื่นให้เจ้าได้เงินแสน แบนมือไปให้ได้แก้วมณีโชติ โทษฮ้ายอย่ามาพาล มารฮ้าย อย่ามาเบียด"
3. ผะหยกเกี้ยว (หญาย่อย ผญาเคือ) เช่น
"ครันอ้ายคึดฮอดน้องให้เหลียวเบิ่งเดือนดาวสายตา เฮาสิก่า กันอยู่เทิงฟ้า"
 ตัวอย่าง ผะหยา

"คำปากพ่อแม่นี้ หนักเกิ่งธรณี
ไผผู้ยำแยงนบ หากจักเฮืองเมื่อหน้า"


ความหมาย ยำ เป็นกิริยา หมายถึงเคารพ นับถือ
คำปาก คำสอนของพ่อแม่นั้น หนักเกิ่ง (เท่า เสมอ เหมือน) หนักเท่าแผ่นธรณี ผู้ใดเคารพยำเกรง ยึดถือ ปฏิบัติ จักเจริญรุ่งเรืองในภายหน้าสืบไป
ผะหยาบทนี้สอนให้ลูกกตัญญูรู้คุณบิดามารดา เชื่อฟัง เคารพ ยำเกรงท่าน ต้องดูแลท่านเมื่อยามเจ็บไข้ได้ป่วย แก่ชราภาพมา




"ใจให้เสมอน้ำ คุงคาสมุทรใหญ่
ให้เจ้าคึดถี่ถ้วน ดีแล้วจึ่งค่อยจา"


หมายความว่า
คนเราเกิดมาต้องมีใจกว้างขวาง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้เสมือนน้ำในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ และให้เป็นคนที่คิด ถี่ถ้วนรอบคอบ รอบด้าน คิดเช่นนี้แล้ว จึงค่อยพูด

 

"แก้วบ่ผัด  สามปีเป็นแฮ่
 พี่น้องบ่แว สามปีเป็นเพิ่น"


หมายความว่า ความรู้ต้องหมั่นเรียนทบทวน ความดีต้องหมั่นทำ พี่น้องต้องหมั่นเยี่ยมเยียน มิเช่นนั้นจะหลงลืม ห่างเหินไปได้

>> หน้า 2 3